top of page

นโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

Risk Management Policy

          บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) ตะหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีโอกาสส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจ ครอบคลุมถึงปัจจัยความเสี่ยงด้านความยั่งยืนขององค์กร บริษัทฯ จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจัดการความเสี่ยงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังมีคณะทำงาน ซึ่งประกอบไปด้วยคณะผู้บริหารของแต่ละหน่วยงาน ทำหน้าที่ประเมินและจัดทำมาตรการเพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงติดตามความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง โดยกรอบการบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทได้ ทั้งนี้การระบุและการจัดการความเสี่ยง จะช่วยสนับสนุนให้บริษัทมีการตัดสินใจที่ดี ช่วยให้มองเห็นโอกาส ช่วยองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดจนสามารถบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียได้

วัตถุประสงค์

    นโยบายการบริหารความเสี่ยง มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. กำหนดกรอบการปฏิบัติงานในกระบวนการบริหารความเสี่ยงของบริษัท เพื่อนำไปปฏิบัติทั่วทั้งองค์กร

  2. เพื่อให้มั่นใจว่า มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุมความเสี่ยงที่ได้ระบุไว้อย่างเหมาะสม
     

ขอบเขต

       นโยบายฉบับนี้ ให้มีผลบังคับใช้กับทุกการดำเนินงาน รวมถึงกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนของ

บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ

นโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง

       1. บริษัทฯ จัดวางระบบและกระบวนการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร รวมทั้งบริษัทในเครือ ให้สอดรับกับกลยุทธ์ และเป้าหมายทางธุรกิจ ตามมาตรฐานสากล โดยประเมินความเสี่ยงให้ครอบคลุมความเสี่ยง ทั้ง 7 ด้าน ดังนี้

                1.1 ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (Sustainability Risk)

                    1.2 ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์และภาพลักษณ์ (Strategic & Brand Risk)

                    1.3 ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานและการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Operational & Supply Chain Risk)

                   1.4 ความเสี่ยงด้านการเงินและสภาพคล่อง (Financial & Liquidity Risk)

                    1.5 ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Risk)

                    1.6 ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี (Information Technology Risk)

                    1.7 ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่/การจัดการ หรือการตอบสนองต่อวิกฤต (Emerging Risk/Crisis Management & Response)

       2. ผู้บริหารและพนักงานทุกคนของบริษัทเป็นเจ้าของความเสี่ยง ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการระบุและประเมินความเสี่ยงของหน่วยงานที่ตนเองรับผิดชอบ รวมทั้งกำหนดมาตรการที่เหมาะสม เพื่อจัดการความเสี่ยง และบริษัทจะบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) หรือเบี่ยงเบนไม่เกินกว่าระดับที่บริษัทฯยอมรับได้ (Risk Tolerance)

       3. คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้กำหนดนโยบาย แนวทาง และกรอบการบริหารความเสี่ยง รวมถึงระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของบริษัท โดยมีคณะทำงานซึ่งประกอบไปด้วยคณะผู้บริหารของฝ่าย/แผนกต่างๆ แต่ละหน่วยงานเป็นผู้ทำงานโดยแผนกตรวจสอบภายในจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนในกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงเป็นผู้รวบรวมข้อมูลความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยงจากคณะทำงานบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืน เพื่อวิเคราะห์และจัดทำรายงานความเสี่ยง ความคืบหน้าของแผนจัดการความเสี่ยงเพิ่มเติม สำหรับรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และความยั่งยืน

         

       4. ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัททั้งหมด ต้องได้รับการดำเนินการ ดังนี้

          - ระบุความเสี่ยงอย่างทันเวลา

          - ประเมินโอกาสของการเกิดความเสี่ยงและผลกระทบหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

          - การจัดการความเสี่ยง ให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงที่กำหนดได้ โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องแลประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดการความเสี่ยงดังกล่าว

          - ติดตามผลและทบทวนการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่า ความเสี่ยงของบริษัทได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม

       5. ความเสี่ยงที่อาจมีผลกระทบต่อแผนธุรกิจและกลยุทธ์ของบริษัท ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงและสูงมากทั้งหมด ต้องรายงานให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและความยั่งยืน คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัทรับทราบ

 

จึงประกาศมาให้พนักงานทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ ณ วันที่  23 ธันวาคม  2567​

Call 

02-815-2060

Email 

Follow

  • Facebook
  • Twitter
  • LinkedIn
  • Instagram

All right Reserved © 2016 by Asimar

bottom of page